หน่วยที่ 2 ระบบเครือข่ายและเทคโนโลยีสารสนเทศ


2.1ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์


ที่มา http://krittiyasai.blogspot.com/2014/12/blog-post.html

        ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ( Computer Network ) หมายถึง การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ 2 เครื่องขึ้นไปเข้าด้วยกันด้วยสายเคเบิล หรือสื่ออื่นๆ ทำให้คอมพิวเตอร์สามารถรับส่งข้อมูลแก่กันและกันได้ในกรณีที่เป็นการเชื่อมต่อระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์หลายๆ เครื่องเข้ากับเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เป็นศูนย์กลาง เราเรียกคอมพิวเตอร์ที่เป็นศูนย์กลางนี้ว่า โฮสต์ (Host) และเรียกคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กที่เข้ามาเชื่อมต่อว่า ไคลเอนต์ (Client)ระบบเครือข่าย (Network) จะเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกันเพื่อการติดต่อสื่อสาร เราสามารถส่งข้อมูลภายในอาคาร หรือข้ามระหว่างเมืองไปจนถึงอีกซีกหนึ่งของโลก ซึ่งข้อมูลต่างๆ อาจเป็นทั้งข้อความ รูปภาพ เสียง ก่อให้เกิดความสะดวก รวดเร็วแก่ผู้ใช้ ซึ่งความสามารถเหล่านี้ทำให้เครือข่ายคอมพิวเตอร์มีความสำคัญ และจำเป็นต่อการใช้งานในแวดวงต่างๆ
แล้วทำไมเราถึงต้องใช้เครือข่าย หรือระบบคอมพิวเตอร์เครือข่าย การที่เรานำเอาเครื่องคอมพิวเตอร์มาเชื่อมต่อกัน เราจะสามารถใช้ประโยชน์จากระบบ หรือระบบสามารถทำอะไรได้บ้าง ทำให้ใช้ทรัพยากร ของเครื่องคอมพิวเตอร์ ร่วมกันได้ (Resources Sharing) ซึ่งเป็นการช่วย ประหยัดค่าใช้จ่าย และเพิ่มความสะดวก ในการใช้งาน เช่น การใช้พื้นที่บนฮาร์ดดิสก์ และเครื่องพิมพ์ร่วมกันสามารถบริหารจัดการการทำงานของคอมพิวเตอร์ทุกเครื่อง ได้จากศูนย์กลาง (Centralized Management) เช่น สร้างเวิร์กกรุป กำหนดสิทธิ์ในการเข้าถึงข้อมูล และสามารถทำการ สำรองข้อมูล ของแต่ละเครื่องได้ สามารถทำการสื่อสาร ภายในเครือข่าย (Communication) ได้หลายรูปแบบ เช่น อีเมล์, แชท (Chat), การประชุมทางไกล (Teleconference), และ การประชุมทางไกล แบบเห็นภาพ (Video Conference)มีระบบรักษาความปลอดภัย ของข้อมูล บนเครือข่าย (Network Security) เช่นสามารถ ระบุผู้ที่มีสิทธิ์เข้าถึงข้อมูล ในระดับต่างๆ ป้องกันผู้ที่ไม่ได้รับอนุญาติ เข้าถึงข้อมูล และให้การคุ้มครอง ข้อมูลที่สำคัญ ให้ความบันเทิงไม่รู้จบ (Entertainment)เช่น สามารถสนุกกับ การเล่นเกมส์ แบบผู้เล่นหลายคน หรือที่เรียกว่า มัลติ เพลเยอร์(Multi Player) ที่กำลัง เป็นที่นิยมกันอยู่ในเวลานี้ได้
ใช้งานอินเทอร์เน็ตร่วมกัน (Internet Sharing) เพียงต่อเข้าอินเทอร์เน็ต จากเครื่องหนึ่งในเครือข่าย โดยมีแอคเคาท์เพียงหนึ่งแอคเคาท์ ก็ทำให้ผู้ใช้อีกหลายคน ในเครือข่ายเดียวกัน สามารถใช้งานอินเทอร์เน็ตได้ เสมือนกับมีหลายแอคเคาท์
ฯลฯ
ระบบเครือข่ายชนิดต่างๆ
ระบบเครือข่าย สามารถเรียกได้ หลายวิธี เช่นตามรูปแบบ การเชื่อมต่อ (Topology) เช่น แบบบัส (bus), แบบดาว (star), แบบวงแหวน (ring)หรือจะเรึยกตามขนาด หรือระยะทางของระบบก็ได้ เช่นแลน (LAN), แวน (WAN), แมน (MAN) นอกจากนี้ ระบบเครือข่าย ยังสามารถ เรียกได้ตาม เทคโนโลยีที่ไช้ ในการส่งผ่านข้อมูล เช่น เครือข่าย TCP/IP, เครือข่ายIPX, เครือข่าย SNA หรือเรียกตาม ชนิดของข้อมูล ที่มีการส่งผ่าน เช่นเครือข่าย เสียงและวิดีโอ
เรายังสามารถจำแนกเครือข่ายได้ ตามกลุ่มที่ใช้เครือข่าย เช่น อินเตอร์เน็ต (Internet), เอ็กซ์ตร้าเน็ต (Extranet), อินทราเน็ต (Intranet), เครือข่ายเสมือน (Virtual Private Network) หรือเรียก ตามวิธีการ เชื่อมต่อทางกายภาพ เช่นเครือข่าย เส้นใยนำแสง, เครือข่ายสายโทรศัพท์, เครือข่ายไร้สาย เป็นต้น จะเห็นได้ว่า เราสามารถจำแนก ระบบเครือข่าย ได้หลากหลายวิธี ตามแต่ว่า เราจะพูดถึง เครือข่ายนั้นในแง่มุมใด เราจำแนก ระบบเครือข่าย ตามวิธีที่นิยมกัน 3 วิธีคือ รูปแบบการเชื่อมต่อ (Topology), รูปแบบการสื่อสาร (Protocol), และ สถาปัตยกรรมเครือข่าย (Architecture)
การจำแนกระบบเครือข่าย ตามรูปแบบการเชื่อมต่อ (Topology)จะบอกถึงรูปแบบ ที่ทำการ เชื่อมต่ออุปกรณ์ ในเครือข่ายเข้าด้วยกัน ซึ่งมีรูปแบบที่นิยมกัน 3 วิธีคือ
แบบบัส (bus)



ที่มา http://partynui.blogspot.com


   ในระบบเครือข่าย โทโปโลยีแบบ BUS นับว่าเป็นแบบโทโปโลยีที่ได้รับความนิยมใช้กันมากที่สุดมา ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เหตุผลอย่างหนึ่งก็คือสามารถติดตั้งระบบ ดูแลรักษา และติดตั้งอุปกรณ์เพิ่มเติมได้ง่าย ไม่ต้องใช้เทคนิคที่ยุ่งยากซับซ้อน ลักษณะการทำงานของเครือข่ายโทโปโลยีแบบ BUS คืออุปกรณ์ทุกชิ้นหรือโหนดทุกโหนด ในเครือข่ายจะต้องเชื่อมโยงเข้ากับสายสื่อสารหลัก ที่เรียกว่า "บัส" (BUS) เมื่อโหนดหนึ่งต้องการจะส่งข้อมูลไปให้ยังอีกโหนด หนึ่งภายในเครือข่าย ข้อมูลจากโหนดผู้ส่ง จะถูกส่งเข้าสู่สายบัส ในรูปของแพ็กเกจ ซึ่งแต่ละแพ็กเกจจะประกอบด้วยตำแหน่งของ ผู้ส่งและผู้รับ และข้อมูล การสื่อสารภายในสายบัส จะเป็นแบบ 2 ทิศทางแยกไปยังปลายทั้ง 2 ด้านของบัส โดยตรงปลายทั้ง 2 ด้านของบัสจะมีเทอร์มิเนเตอร์ (Terminator) ทำหน้าที่ดูดกลืนสัญญาณ เพื่อป้องกันไม่ให้สัญญาณข้อมูลนั้นสะท้อนกลับ เข้ามายังบัสอีก เป็นการป้องกันการชนกันของสัญญาณ ข้อมูลอื่น ๆ ที่เดินทางอยู่บนบัส สัญญาณข้อมูลจากโหนดผู้ส่ง เมื่อเข้าสู่บัสจะไหลผ่านไปยังปลายทั้ง 2 ข้างของบัส แต่ละโหนดที่เชื่อมต่อเข้ากับบัส จะคอยตรวจดูว่าตำแหน่งปลายทาง ที่มากับแพ็กเกจข้อมูลนั้น ตรงกับตำแหน่งของตนหรือไม่ ถ้าใช่ก็จะรับข้อมูลนั้นเข้ามาสู่โหนดตน แต่ถ้าไม่ใช่ ก็จะปล่อยให้สัญญาณข้อมูลนั้นผ่านไป จะเห็นว่าทุก ๆ โหนดภายในเครือข่ายแบบ BUS นั้นสามารถรับรู้สัญญาณข้อมูลได้ แต่จะมีเพียงโหนดปลายทางเพียงโหนดเดียวเท่านั้น ที่จะรับข้อมูลนั้นไปได้
การควบคุมการสื่อสารภายในเครือข่ายแบบ BUS มี 2 แบบคือแบบควบคุมด้วยศูนย์กลาง (Centralized) ซึ่งจะมีโหนดหนึ่ง ที่ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางควบคุมการสื่อสารภายในเครือข่าย ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นไฟล์เซิร์ฟเวอร์ การควบคุมแบบกระจาย (Distributed) ทุก ๆ โหนดภายในเครือข่าย จะมีสิทธิในการควบคุมการสื่อสาร แทนที่จะ เป็นศูนย์กลางควบคุมเพียงโหนดเดียว ซึ่งโดยทั่วไปคู่โหนดที่กำลังทำการส่ง-รับ ข้อมูลกันอย ู่จะเป็นผู้ควบคุมการสื่อสารในเวลานั้นข้อดีข้อเสียของโทโปโลยีแบบบัส
แบบดาว (star)



ที่มา http://www.ro.ac.th/mongkolro/scoretest2/test4.html


   เป็นหลักการส่งและรับข้อมูล เหมือนกับระบบโทรศัพท์ การควบคุมจะทำโดยสถานีศูนย์กลาง ทำหน้าที่เป็นตัวสวิตชิ่ง ข้อมูลทั้งหมดในระบบเครือข่าย จะต้องผ่านเครื่องคอมพิวเตอร์ศูนย์กลาง (Center Comtuper)เป็นการเชื่อมโยงการติดต่อสื่อสาร ที่มีลักษณะคล้ายกับรูปดาว (STAR)หลายแฉก โดยมีศูนย์กลางของดาว หรือฮับ เป็นจุดผ่านการติดต่อกันระหว่างทุกโหนดในเครือข่าย ศูนย์กลาง จึงมีหน้าที่เป็นศูนย์ควบคุมเส้นทางการสื่อสารทั้งหมด นอกจากนี้ศูนย์กลางยังทำหน้าที่ เป็นศูนย์กลางข้อมูลอีกด้วย
การสื่อสารภายในเครือข่ายแบบ STAR จะเป็นแบบ 2 ทิศทาง โดยจะอนุญาตให้มีเพียงโหนดเดียวเท่านั้น ที่สามารถส่งข้อมูลเข้าสู่เครือข่ายได้ จึงไม่มีโอกาสที่หลายๆ โหนดจะส่งข้อมูลเข้าสู่เครือข่ายในเวลาเดียวกัน เพื่อป้องกันการชนกันของสัญญาณข้อมูล เครือข่ายแบบ STAR เป็นโทโปโลยี อีกแบบหนึ่ง ที่เป็นที่นิยมใช้กันในปัจจุบัน ข้อดีของเครือข่ายแบบSTAR คือการติดตั้งเครือข่ายและการดูแลรักษาทำได้ง่าย หากมีโหนดใดเกิดความเสียหาย ก็สามารถตรวจสอบได้ง่าย และศูนย์กลางสามารถตัดโหนดนั้นออกจากการสื่อสาร ในเครือข่ายได้
แบบวงแหวน (ring)

ที่มา https://sites.google.com/site/41208panuvat/


    เครือข่ายแบบ RING เป็นการส่งข่าวสารที่ส่งผ่านไปในเครือข่าย ข้อมูลข่าวสารจะไหลวนอยู่ในเครือข่าย ไปในทิศทางเดียว เหมือนวงแหวน หรือ RING นั่นเอง โดยไม่มีจุดปลาย หรือเทอร์มิเนเตอร์ เช่นเดียวกับเครือข่ายแบบ BUS ในแต่ละโหนดหรือสเตชั่น จะมีรีพีตเตอร์ประจำโหนด 1 เครื่อง ซึ่งจะทำหน้าที่เพิ่มเติมข่าวสารที่จำเป็นต่อการสื่อสาร ในส่วนหัวของแพ็กเกจข้อมูล สำหรับการส่งข้อมูลออกจากโหนด และมีหน้าที่รับแพ็กเกจข้อมูล ที่ไหลผ่านมาจากสายสื่อสาร เพื่อตรวจสอบว่าเป็นข้อมูล ที่ส่งมาให้โหนดตนหรือไม่ ถ้าใช่ก็จะคัดลอกข้อมูลทั้งหมดนั้น ส่งต่อไปให้กับโหนดของตน แต่ถ้าไม่ใช่ก็จะปล่อยข้อมูลนั้นไปยังรีพีตเตอร์ของโหนดถัดไป
โทโปโลยี แบบผสม (Hybrid Topology)


ที่มา http://www.chakkham.ac.th/krusuriya


    เป็นเครือข่ายการสื่อสารข้อมูลแบบผสมระหว่างเครือข่ายแบบใดแบบหนึ่งหรือมากกว่า เพื่อความถูกต้องแน่นอน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความต้องการและภาพรวมขององค์กร

2.2 เทคโนโลยีสารสนเทศ

เทคโนโลยี หมายถึง วิธีการปฏิบัติที่มีการจัดลำดับอยากมีรูปแบบและขั้นตอนเพื่อที่จะทำให้เกิดประสิทธิภาพในเรื่องของความรวดเร็ว ความน่าเชื่อถือ ความถูกต้อง เป็นต้น
สารสนเทศ หมายถึง ข้อมูลดิบที่ได้ผ่านการประมวลผลจากคอมพิวเตอร์มาแล้ว คือ ผ่านการคำนวณ การจัดเรียงการเปรียบเทียบ เป็นต้น
เทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึง วิธีการปฏิบัติที่มีการจัดลำดับอย่างมีรูปแบบและขั้นตอนเพื่อที่จะทำให้เกิดประสิทธิภาพในเรื่องของความรวดเร็ว ความน่าเชื่อถือ ความถูกต้อง ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่มีการนำคอมพิวเตอร์ การสื่อสาร การโทรคมนาคม และเทคโนโลยีสำหรับการผลิตในโรงงานอุตสาหกรรมมาทำงานร่วมกัน เพื่อทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนสารสนเทศ โดยนำข้อมูลป้อนเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ และทำการประมวลผลเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ตามต้องการ

2.3 บทบาทของระบบสารสนเทศ

บทบาทความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ
          ความก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ทำให้มีการพัฒนาคิดค้นสิ่งอำนวยความสะดวกสบายต่อการดำชีวิตเป็นอันมาก เทคโนโลยีได้เข้ามาเสริมปัจจัยพื้นฐานการดำรงชีวิตได้เป็นอย่างดี เทคโนโลยีทำให้การสร้างที่พักอาศัยมีคุณภาพมาตรฐาน สามารถผลิตสินค้าและให้บริการต่าง ๆ เพื่อตอบสนองความต้องการของมนุษย์มากขึ้น เทคโนโลยีทำให้ระบบการผลิตสามารถผลิตสินค้าได้เป็นจำนวนมากมีราคาถูกลง สินค้าได้คุณภาพ เทคโนโลยีทำให้มีการติดต่อสื่อสารกันได้สะดวก การเดินทางเชื่อมโยงถึงกันทำให้ประชากรในโลกติดต่อรับฟังข่าวสารกันได้ตลอดเวลา
          พัฒนาการของเทคโนโลยีทำให้ชีวิตความเป็นอยู่เปลี่ยนไปมาก ลองย้อนไปในอดีตโลกมีกำเนินมาประมาณ 4600 ล้านปี เชื่อกันว่าพัฒนาการตามธรรมชาติทำให้เกิดสิ่งมีชีวิตถือกำเนินบนโลกประมาณ 500 ล้านปีที่แล้ว ยุคไดโนเสาร์มีอายุอยู่ในช่วง 200 ล้านปี สิ่งมีชีวิตที่เป็นเผ่าพันธุ์มนุษย์ ค่อย ๆ พัฒนามา คาดคะเนว่าเมื่อห้าแสนปีที่แล้วมนุษย์สามารถส่งสัญญาณท่าทางสื่อสารระหว่างกันและพัฒนามาเป็นภาษา มนุษย์สามารถสร้างตัวหนังสือ และจารึกไว้ตามผนึกถ้ำ เมื่อประมาณ 5000 ปีที่แล้ว กล่าวได้ว่ามนุษย์ต้องใช้เวลานานพอสมควรในการพัฒนาตัวหนังสือที่ใช้แทนภาษาพูด และจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์พบว่า มนุษย์สามารถจัดพิมพ์หนังสือได้เมื่อประมาณ 5000 ปีที่แล้ว กล่าวได้ว่าฐานทางประวัติศาสตร์พบว่า มนุษย์สามารถจัดพิมพ์หนังสือได้เมื่อประมาณ 500 ถึง 800 ปีที่แล้ว
          เทคโนโลยีเริ่มเข้ามาช่วยในการพิมพ์ ทำให้การสื่อสารด้วยข้อความและภาษาเพิ่มขึ้นมาก เทคโนโลยีพัฒนามาจนถึงการสื่อสารกัน โดยส่งข้อความเป็นเสียงทางสายโทรศัพท์ได้ประมาณร้อยกว่าปีที่แล้ว และเมื่อประมาณห้าสิบปีที่แล้ว ก็มีการส่งภาพโทรทัศน์และคอมพิวเตอร์ทำให้มีการใช้สารสนเทศในรูปแบบข่าวสารมากขึ้น ในปัจจุบันมีสถานที่วิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ แ ละสื่อต่าง ๆ ที่ใช้ในการกระจ่ายข่าวสาร มีการแพร่ภาพทางโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมเพื่อรายงานเหตุการณ์สด เห็นได้ชัดว่าเทคโนโลยีได้เข้ามามีบทบาทอย่างมาก บทบาทของการพัฒนาเทคโนโลยีรวดเร็วขึ้นเมื่อมีการพัฒนาอุปกรณ์ทางด้านคอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ จะเห็นได้ว่าในช่วงสี่ห้าปีที่ผ่านมาจะมีผลิตภัณฑ์ใหม่ ซึ่งมีคอมพิวเตอร์เข้าไปเกี่ยวข้องให้เห็นอยู่ตลอดเวลา

2.4 ระบบสารสนเทศที่ใช้คอมพิวเตอร์


ระบบสารสนเทศที่ใช้คอมพิวเตอร์ (Computer-Based Information Systems : CBIS)
    ระบบสารสนเทศที่ใช้คอมพิวเตอร์ประกอบด้วย ฮาร์ดแวร์ (Hardware), ซอฟต์แวร์ (Software), ข้อมูล(Data), บุคคล (People), ขบวนการ (Procedure) และการสื่อสารข้อมูล (Telecommunication) ซึ่งถูกกำหนดขึ้นเพื่อทำการรวบรวม, จัดการ จัดเก็บและประมวลผลข้อมูลให้เป็นสารสนเทศ  แสดงส่วนประกอบของระบบ สารสนเทศที่ใช้คอมพิวเตอร์
1. ฮาร์ดแวร์ คืออุปกรณ์ทางกายภาพ ที่ใช้ในการรวบรวม การนำเข้า และการจัดเก็บข้อมูล, ประมวลผล ข้อมูลให้เป็นสารสนเทศ และแสดงสารสนเทศที่เป็นผลลัพธ์ออกมา
2. ซอฟต์แวร์ ประกอบด้วยกลุ่มของโปรแกรมที่ใช้ในการปฏิบัติงานร่วมกับฮาร์ดแวร์และใช้ในการประมวลผลข้อมูลเป็นสารสนเทศ
3. ข้อมูล ในส่วนนี้หมายถึงข้อมูลและสารสนเทศที่ถูกเก็บอยู่ในฐานข้อมูล โดยฐานข้อมูล (Database) หมายถึงกลุ่มของค่าความจริงและสารสนเทศที่มีความเกี่ยวข้องกันนั่นเอง
4. บุคคล หมายถึงบุคคลที่ใช้งานและปฏิบัติงานร่วมกับระบบสารสนเทศ
5. ขบวนการ หมายถึงกลุ่มของคำสั่งหรือกฎ ที่แนะนำวิธีการปฏิบัติงานกับคอมพิวเตอร์ในระบบสารสนเทศ ซึ่งอาจได้แก่การแนะนำการควบคุมการเข้าใช้งานคอมพิวเตอร์, วิธีการสำรองสารสนเทศในระบบและวิธีจัดการกับปัญหาที่อาจเกิดขึ้นได้
6. การสื่อสารข้อมูล หมายถึงการส่งสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์เพื่อติดต่อสื่อสาร และช่วยให้องค์กรสามารถเชื่อมระบบคอมพิวเตอร์เข้ากับระบบเครือข่าย (Network) ที่มีประสิทธิภาพได้ โดยเครือข่ายใช้ในการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ไว้ด้วยกัน อาจจะเป็นภายในอาคารเดียวกัน ในประเทศเดียวกัน หรือทั่วโลก เพื่อให้สามารถสื่อสารข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ได้

2.5 ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ
ความหมายของระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ
            ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (Management Information Systems) (MIS) เป็นระบบเกี่ยวกับการจัด หาคน หรือข้อมูลที่สัมพันธ์กับข้อมูล เพื่อการดำเนินงานขององค์การ เช่น การใช้ MIS เพื่อช่วยเหลือกิจกรรมของลูกจ้าง เจ้าของกิจการ ลูกค้า และบุคคลอื่นที่เจ้ามาเกี่ยวข้องกับองค์การ การประมวลผลของข้อมูลจะช่วยแบ่งภาระการ ทำงานและยังสามารถนำ สารสนเทศมา ช่วยในการตัดสินใจของผู้บริหาร หรือMIS เป็นระบบซึ่งรวมความสามารถของผู้ใช้งานและคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกัน โดยมีจุดมุ่งหมาย เพื่อให้ได้มาซึ่งสารสนเทศเพื่อการดำเนินงานการจัดการ และการตัดสินใจในองค์การ หรือ MIS หมายถึงการเก็บรวบรวมข้อมูล การ ประมวลผล และการสร้างสารสนเทศขึ้นมาเพื่อช่วยในการตัดสินใจ การประสานงาน และการควบคุม นอกจากนั้นยังช่วยผู้บริหาร และ พนักงานในการวิเคราะห์ปัญหา แก้ปัญหา และสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ โดย MIS จะต้องใช้อุปกรณ์ทางคอมพิวเตอร์ (Hardware) และ โปรแกรม (Software) ร่วมกับผู้ใช้ (Peopleware) เพื่อก่อให้เกิดความสำเร็จในการได้มาซึ่งสารสนเทศที่มีประโยชน์
            
  การใช้งานระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (Management Information Systems) ได้ขยายขอบเขตเกี่ยว ข้องกับ หลายหน้าที่ในองค์การและเป็นประโยชน์กับบุคคลหลายระดับ ตั้งแต่การใช้งานส่วนบุคคล กลุ่ม องค์การ และระหว่างหน่วยงาน MIS ช่วยให้ผู้ใช้สารสนเทศสามารถแก้ไขปัญหาทางธุรกิจที่ยุ่งยาก และซับซ้อนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนสร้างโอกาสทางธุรกิจ ให้กับหลายองค์การ ดังที่ Kroenke และHatch (1994) กล่าวถึง  
            ความสำคัญและผลกระทบของระบบสารสเทศที่มีต่อธุรกิจดังต่อไปนี้
            1. ระบบสารสนเทศช่วยสร้างคุณค่าเพิ่มให้กับการทำงาน
            2. บุคลากรทุกคนต้องมีความรู้เกี่ยวกับ MIS เนื่องจากปัจจุบันมีการพัฒนาและการใช้งานสารสนเทศทั่วองค์การ ตลอดจนการขยาย ตัวของเทคโนโลยีสารสนเทศและการปรับรูปของระบบงานอย่างต่อเนื่อง
            3. การประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของธุรกิจและการบรรลุเป้าหมายขององค์การมากขึ้น
            ปัจจุบันเทคโนโลยี MIS มีพัฒนาการมากขึ้นจนมีความสำคัญต่อเราในหลายระดับที่แตกต่างจากอดีต เราจะเห็นว่า เทคโนโลยีสารสนเทศมีความจำเป็นและความสำคัญสำหรับผู้ศึกษาและปฏิบัติงานในสาขาต่าง ๆ เช่น การบัญชี การเงิน การตลาด และการจัดการทรัพยากรบุคคล แม้กระทั่งวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และศิลปศาสตร์ ดังนั้นบุคลากรที่จะปฏิบัติงาน ในทุกสาขา จึงสมควรมีความรู้และความเข้าใจในหลักการของ MIS เพื่อให้การทำงานมีประสิทธิภาพและประสบผลสำเร็จในอาชีพได้
Laudon และ Laudon (1994) กล่าวว่า การเปลี่ยนแปลงที่มีผลต่อสภาพแวดล้อมในการแข่งขันทางธุรกิจมี 2 ประการคือ
         1. การรวมตัวของระบบเศรษฐกิจโลก (Emergence of the Global Economy) ก่อให้เกิดกระบวนการโลกาภิวัตน์ ของตลาด (Globalization of Markets) ที่เกิดการบูรณาการของทรัพยากรทางธุรกิจและการแข่งขันทั่วโลก ธุรกิจขยาย งานครอบคลุมพื้นที่กว้างขวางจากระดับท้องถิ่นสู่ระดับประเทศ จากระดับประเทศสู่ระดับภูมิภาค และจากระดับภูมิภาคสู่ ระดับโลก โดยที่การขยายตัวของธุรกิจไม่เพียงแต่เป็นการกระจายสินค้า และบริการอย่างเป็นระบบและทั่วถึง แต่ครอบคลุม การจัดตั้ง การจัด เตรียม ทรัพยากร การผลิตและดำเนินงาน ดังนั้นองค์การธุรกิจในยุค โลกาภิวัตน์จึง ต้องมีโครงสร้าง องค์การและการ ประสานงานที่สอดรับและสามารถควบคุมอย่างมีประสิทธิภาพ
       2. การปรับรูปของระบบเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (Transformation of Industrial Economies) ประเทศ อุตสาหกรรม ชั้นนำ เช่น สหรัฐอเมริกา แคนาดา ยุโรปตะวันตก และญี่ปุ่นปรับตัวจากระบบ เศรษฐกิจอุตสาหกรรมเข้าสู่ ระบบเศรษฐกิจที่อาศัยเทคโนโลยีที่ทันสมัย ซึ่งจะเห็นได้จากประมาณร้อยละ 70 ของรายได้ประชาชาติของประเทศที่พัฒนาแล้ว จะมาจากธุรกิจบริการ และธุรกิจที่ใช้เทคโนโลยี สารสนเทศ ในการสร้างมูลค่าเพิ่ม (Value Added) การปรับรูปของระบบเศรษฐกิจจากอุตสาหกรรมเข้าสู่ธุรกิจบริการ ส่งผลกระทบต่อการค้าและการลงทุน เช่น การแข่งขันทวีความรุนแรงและซับซ้อนขึ้น วงจรชีวิตของผลิตภัณฑ์ และบริการสั้นลง ธุรกิจต้องตอบสนองและสร้างความพอใจแก่ลูกค้า เป็นต้น ทำให้ธุรกิจต้องการบุคลากรที่มี ความรู้ (Knowledge Worker) ในการสร้างคุณค่าเพิ่มให้แก่องค์การ ส่งผลให้ธุรกิจต้องพัฒนา ทรัพยากรบุคคลอย่างต่อเนื่อง
            ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ หมายถึง ระบบที่รวบรวมและจัดเก็บข้อมูลจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ ทั้งภายใน และภายนอกองค์การอย่างมีหลักเกณฑ์ เพื่อนำมาประมวลผลและจัดรูปแบบให้ได้ สารสนเทศที่ ช่วยสนับสนุนการทำงาน และการตัดสินใจในด้านต่าง ๆ ของผู้บริหารเพื่อให้การดำเนินงานของ องค์การ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ โดยที่เราจะเป็นว่า MIS จะประกอบด้วยหน้าที่หลัก 2 ประการคือ
          1. สามารถเก็บรวบรวมข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ ทั้งจากภายในและภายนอกองค์การ มาไว้ด้วยกัน อย่างเป็นระบบ
         2. สามารถทำการประมวลผลข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้ได้สารสนเทศที่ช่วยสนับสนุน การปฏิบัติงานและการบริหารงานของผู้บริหาร  

ที่มา http://partynui.blogspot.com


 รูปที่ 1 หน้าที่หลักของระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ
            ชุมพล ศฤงคารศิริ (2537 : 2) ให้ความหมายของระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ คือ เป็นระบบที่รวม (integrate) ผู้ใช้ (user) เครื่องคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์ต่าง ๆ (machine) เพื่อจัดทำสารสนเทศ สำหรับสนับสนุน การปฏิบัติงาน (operation) การจัดการ (management) และการตัดสินใจ (decision making) ในองค์กรจาก ความหมายที่กล่าวมาสามารถสรุปความหมายของระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการได้คือ การรวบรวมและการจัดเก็บข้อมูล จากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับองค์การ ทั้งจากภายใน และภายนอก หน่วยงาน เพื่อนำมาประมวลผล และจัดรูปแบบ ให้ได้สารสนเทศที่เหมาะสมกับองค์การ ในการช่วยในการตัดสินใจ ประสานงาน และควบคุมของผู้บริหาร ในอันที่จะ ดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ


2.6การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ

การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
         
            การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ คือ การนำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศไปกระจายเผยแพร่ไปยังผู้ใช้ได้อย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพ เพื่อเป็นประโยชน์ต่อการตัดสินใจ พัฒนาอาชีพ หรือด้านการศึกษาเช่น การนำสารสนเทศทางด้านการวิจัยพฤติกรรมของมนุษย์มาช่วยในการวางแผนการตลาด เป็นต้น นอกจากนี้การนำเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีประสิทธิภาพไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในด้านต่างๆ ยิ่งเป็นการพัฒนาสังคมและประเทศชาติให้ดียิ่งขึ้น ดังนั้นจึงมีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในด้านต่างๆ ดังนี้

การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศด้านการศึกษา

           การนำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาประยุกต์ใช้ในด้านศึกษา เป็นการเรียน การสอนสมัยใหม่ที่เป็นที่นิยมในปัจจุบันเพื่อ พัฒนาและกระตุ้นให้ผู้เรียนนั้นเกิดความสนใจในการเรียนและศึกษาสิ่งใหม่ที่อยู่นอกกรอบห้องเรียน ดังนั้นเทคโนโลยีสารสนเทศจึงมีบทบาทความสำคัญต่อด้านการศึกษาเป็นอย่างมาก
           เทคโนโลยีสารสนเทศด้านการศึกษามีดังต่อไปนี้
วีดีทัศน์
เป็นระบบที่นำภาพวิดีโอมาบันทึกเป็นไฟล์ในระบบคอมพิวเตอร์และเผยแพร่ผ่านระบบอินเทอร์เน็ตเพื่อให้ผู้เรียนศึกษาในนอกเวลาเรียน
คอมพิวเตอร์ช่วยสอน 
เป็นการนำเอาเทคโนโลยี รวมกับการออกแบบโปรแกรมการสอน มาใช้ช่วยสอน ซึ่งเรียกกันโดยทั่วไปว่าบทเรียน ปัจจุบันมักอยู่ในรูปของสื่อประสมซึ่งหมายถึงนำเสนอได้ทั้งภาพ ข้อความ เสียง ภาพเคลื่อนไหว
การสืบค้นข้อมูล
เป็นการค้นหาข้อมูล ความรู้ อีกวิธีหนึ่งของผู้เรียนโดยแสวงหาความรู้จากนอกห้องเรียน เพื่อพัฒนาตนเองให้ก้าวทันโลก ทันเหตุการณ์ โดยค้นหาด้วยเว็บไซต์ต่างๆ เช่น Google Sanook เป็นต้น

อินเทอร์เน็ต
           อินเทอร์เน็ตได้เข้ามามีบทบาทต่อชีวิตประจำวันมากมายและเป็นสิ่งที่สำคัญต่อหลายๆองค์กร และหลายๆหน่วยงาน เพราะอินเทอร์เน็ตนั้นมีประโยชน์ในด้านต่างๆ เช่น ด้านการศึกษา ด้านการค้า ด้านการสื่อสาร เป็นต้น
           เมื่ออินเทอร์เน็ตเข้ามามีบทบาทต่อการศึกษาจึงเป็นสิ่งที่ช่วยให้การศึกษานั้นดีขึ้นเพราะอินเทอร์เน็ตสามารถติดต่อสื่อสารได้ ค้นหาคำตอบในเรื่องที่ต้องการ ทั้งในรูปแบบข้อมูลและวีดีโอ
           ปัจจุบันได้มีการนำวีดีโอ สื่อการเรียนการสอน สื่อประสม ไปเผยแพร่บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเพื่อให้ผู้เรียนได้ศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม

การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศด้านธุรกิจ
           การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศด้านธุรกิจ เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตและการบริการของธุรกิจ เพื่อดึงดูดลูกค้าให้สนใจและเกิดความประทับใจเมื่อได้ใช้บริการ 

การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-commerce)
           คือ การทำกิจกรรมทางธุรกิจโดยผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ทุกช่องทาง เช่น อินเทอร์เน็ต โทรทัศน์ วิทยุ เป็นต้น ปัจจุบันได้มีการขายสินค้าบนระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเพื่อกระจายสินค้าให้กับลูกค้าได้เร็วขึ้น
การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศด้านการสื่อสาร
           การสื่อสารเป็นสิ่งที่ทำให้คนเราเกิดความเข้าใจซึ่งกันและกัน สามารถกระทำในสิ่งที่สื่อสารกันได้อย่างถูกต้อง โดยมีอุปกรณ์หรือเครื่องมือที่ใช้ในการสื่อสาร เป็นตัวกลางในการสื่อสาร เช่น โทรศัพท์มือถือ วิทยุ คอมพิวเตอร์ โทรทัศน์ เป็นต้น 
           การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศด้านการสื่อสารนั้น เป็นการนำเอาเครื่องมือหรืออุปกรณ์ที่ใช้เป็นตัวกลางในการสื่อสารมาใช้ให้เกิดประโยชน์อันสูงสุด เช่น การใช้โทรทัศน์ในการโฆษณาเพื่อดึงดูดและกระตุ้นให้ลูกค้าเกิดความสนใจให้มาซื้อสินค้าเพิ่มมากขึ้น การใช้วิทยุประสัมพันธ์การทำกิจกรรมต่างๆ การใช้คอมพิวเตอร์ผลิตสื่อสิ่งพิมพ์ต่างๆ การประชาสัมพันธ์ เว็บไซต์ เว็บบอร์ด รวมไปถึงการแชทในรูปแบบต่างๆ


      


ที่มา: https://sites.google.com/site/jirapankantamoon/3-5-tawxyang-websit-thi-hi-brikar-subkhn-khxmul-thang-khxng-thiy-laea-khxng-tang-prathes

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

Profile