หน่วยที่ 3 การสืบค้นข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต

3.1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับอินเทอร์เน็ต

อินเทอร์เน็ต (อังกฤษ: Internet) หมายถึง เครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดใหญ่ มีการเชื่อมต่อระหว่างเครือข่ายหลาย ๆ เครือข่ายทั่วโลก โดยใช้ภาษาที่ใช้สื่อสารกันระหว่างคอมพิวเตอร์ที่เรียกว่า โพรโทคอล (protocol) ผู้ใช้เครือข่ายนี้สามารถสื่อสารถึงกันได้ในหลาย ๆ ทาง อาทิ อีเมล เว็บบอร์ด และสามารถสืบค้นข้อมูลและข่าวสารต่าง ๆ รวมทั้งคัดลอกแฟ้มข้อมูลและโปรแกรมมาใช้ได้
ความสามารถของอินเทอร์เน็ต
1. ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic mail=E-mail) เป็นการส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตโดยผู้ส่งจะต้องส่งข้อความไปยังที่อยู่ของผู้รับ และแนบไฟล์ไปได้
          2. เทลเน็ต (Telnet) การใช้งานคอมพิวเตอร์อีกเครื่องหนึ่งที่อยู่ไกล ๆ ได้ด้วยตนเอง เช่น สามารถเรียกข้อมูลจากโรงเรียนมาทำที่บ้านได้
          3. การโอนถ่ายข้อมูล (File Transfer Protocol ) ค้นหาและเรียกข้อมูลจากแหล่งต่างๆมาเก็บไว้ในเครื่องของเราได้ ทั้งข้อมูลประเภทตัวหนังสือ รูปภาพและเสียง
          4. การสืบค้นข้อมูล (Gopher,Archie,World wide Web) การใช้เครือข่ายอินเทอร์เน็ตในการค้นหาข่าวสารที่มีอยู่มากมาย ใช้สืบค้นข้อมูลจากแหล่งข้อมูลต่างๆ ทั่วโลกได้
          5. การแลกเปลี่ยนข่าวสารและความคิดเห็น (Usenet) เป็นการบริการแลกเปลี่ยนข่าวสารและแสดงความคิดเห็นที่ผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ตทั่วโลก แสดงความคิดเห็นของตน โดยกลุ่มข่าวหรือนิวกรุ๊ป(Newgroup)แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน
          6. การสื่อสารด้วยข้อความ (Chat,IRC-Internet Relay chat) เป็นการพูดคุย โดยพิมพ์ข้อความตอบกัน ซึ่งเป็นวิธีการสื่อสารที่ได้รับความนิยมมากอีกวิธีหนึ่ง การสนทนากันผ่านอินเทอร์เน็ตเปรียบเสมือนเรานั่งอยู่ในห้องสนทนาเดียวกัน แม้จะอยู่คนละประเทศหรือคนละซีกโลกก็ตาม
          7. การซื้อขายสินค้าและบริการ (E-Commerce = Electronic Commerce) เป็นการซื้อ - สินค้าและบริการ ผ่านอินเทอร์เน็ต
          8. การให้ความบันเทิง (Entertain) บนอินเทอร์เน็ตมีบริการด้านความบันเทิงหลายรูปแบบต่างๆ เช่น รายการโทรทัศน์ เกม เพลง รายการวิทยุ เป็นต้น เราสามารถเลือกใช้บริการเพื่อความบันเทิงได้ตลอด 24 ชั่วโมง

3.2 เว็บไซต์และโปรแกรมเว็บเบราเซอร์

เบราเซอร์ (Browser) เป็นชื่อที่ใช้เรียกโปรแกรมที่เราใช้ท่องเว็บกัน ซึ่งชื่อนี้หลายท่านไม่คุ้นและไม่รู้จัก ส่วนมากเวลาถามว่าใช้อะไรเล่นเน็ตก็มักจะได้คำตอบว่า IE บ้าง Chrome บ้าง Firefox บ้าง แต่พอถามว่าใช้เบราเซอร์อะไร กลับได้รับคำตอบคือ งงๆๆๆ อะไรคือเบราเซอร์?
      เบราเซอร์ (Browser) คือโปรแกรมหรือซอฟต์แวร์ที่ใช้ท่องเว็บหรือใช้ดูข้อมูลที่อยู่ในเว็บไซต์  เบราเซอร์มีความสามารถในการเปิดดูไฟล์ต่างๆ ที่สนับสนุนเช่น Flash  JavaScript  PDF  Media ต่างๆ ซึ่งเบราเซอร์มีหลายตัวและความสามารถของแต่ละตัวก็แตกต่างกันขึ้นอยู่กับว่าผู้พัฒนาเบราเซอร์  พัฒนาให้มีความสามารถอะไรบ้าง เบราเซอร์มักใช้เปิดดูเว็บเป็นส่วนใหญ่ และการใช้งานต่างๆในระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตก็มักจะทำผ่านเบราเซอร์ เช่น การดูภาพยนตร์ผ่าน Youtube  การส่งเมล์  การซื้อขายสินค้าในระบบ e-commerce  การใช้สื่อสังคมออนไลน์ (Social Media)  การดาวน์โหลดไฟล์  การเล่นเกมผ่านเน็ต  การเรียนออนไลน์  เป็นต้น  ล้วนแล้วแต่ทำผ่านเบราเซอร์ทั้งสิ้น
      เรามาดูกันครับว่ามีเบราเซอร์อะไรที่นิยมใช้กันบ้าง

ชื่อเบราเซอร์ข้อดีข้อจำกัด
browser-ie
Internet Explorer (IE)
- เป็นบราวเซอร์ที่คนใช้งานมากที่สุดในโลก
  รองรับการเปิดเว็บไซต์ได้ทุกเว็บไซต์ เมื่อเกิด
  ปัญหาเกิดสามารถแก้ไขได้ง่าย
- เว็บไซต์เกมทุกเว็บหรือโซเชียลเน็ตเวิร์คต่างๆ
  รองรับโค้ดของ IE
- IE เปิดหลายๆ แท็บมักจะเกิดอาการค้าง
  ไม่ทำงาน
- ช้าที่สุด เมื่อเทียบกับบราวเซอร์อื่นๆ
- ใช้หน่วยความจำคอมพิวเตอร์มากที่สุด
  ซึ่งอาจทำให้เครื่องช้าไปด้วย
browser-firefox
FireFox
- เร็วที่สุดในบรรดาเบราเซอร์ทุกตัวในที่นี้
- เต็มไปด้วยอุปกรณ์เสริม ( add-ons )
- ถ้าโดนบุกรุกจากสปายแวร์ ไวรัส หากใช้
  เบราเซอร์ FireFox จะไม่ค่อยเจอปัญหา
  (เกือบ 100%) ด้วยระบบการรักษาความ
  ปลอดภัยและระบบการอัพเดตอยู่ตลอด
  จะช่วยแก้ปัญหาได้ อย่างทันท่วงที
- มีลุกเล่นเยอะ
- มีตัวดาวน์โหลดอยู่ในตัว
- มีการอัพเดทอยู่เรื่อย ๆ
- Google สนับสนุนน้อยลงเนื่องจาก หันไป
  พัฒนา Chrome แทน
- ผู้ใช้ทั่วโลกยังน้อย เมื่อเทียบกับ IE เพราะ IE
  ติดมากับวินโดว์อยู่แล้ว
- เว็บไซต์ส่วนใหญ่ทำด้วย IE แสดงผลใน
  Firefox ไม่ได้ หรือถ้าแสดงได้ ก็อาจ
  ไม่สมบูรณ์
- ไม่สามารถเข้าไปยังเว้บไซต์ของสถาบัน
  การเงินต่าง ๆ ได้
- เนื่องจากลูกเล่นเยอะ ก็มีข้อดีและข้อเสีย
  ในตัวคือลูกเล่นเยอะ เปิดแท็บได้เยอะ
  กินแรมมาก
browser-chrome
Google Chrome
- พื้นที่หน้าจอใหญ่ที่สุดและใช้เนื้อที่คุ้มค่าที่สุด
- เร็วกว่า IE และเร็วพอ ๆ กับ Firefox
- มีแถบสำหรับการค้นหาที่รวดเร็ว
- ขนาดไฟล์น้อย ไม่หนักเครื่อง
- หน้าต่างดาวน์โหลดอยู่แถบด้านล่าง ไม่เกะกะ
  เหมือน IE และ Firefox ที่เด้งออกมาเป็นอีก
  หน้าต่าง
- ดึงแอพของกูเกิลมาใช้งานอย่างสะดวก
- ไตเติ้ลบาร์สั้น
- เข้าเว็บสถาบันการเงิน ไม่ได้เช่นเดียวกับ
  FireFox
- ยังซัพพอร์ตภาษาไทยได้ไม่ดีเท่าที่ควร
- การลบตัวอักษร ถ้าคำที่มีสระอยู่ด้วยมันจะลบ
  ไปหมด
browser-opera
Opera
- เร็วกว่า IE Chrome FireFox
- รูปลักษณ์สวย
- ใช้หน่วยความจำของเครื่องคอมพิวเตอร์
  น้อยกว่า IE แต่ก็ยังมากกว่า Chrome
- มี download manager ในตัว
- ซัพพอร์ต HTML  CSS
- ลูกเล่นน้อย บางหน้าเว็บแสดงผลเพี้ยน
- เวลาเปิด บางทีช้ากว่าเบราเซอร์อื่น ๆ
- ไม่ซัพพอร์ตเว็บที่เป็นไออีเท่านั้น เช่น
  เว็บของสถาบันการเงินต่างๆ
browser-safari
Safari
- โหลดหน้าเว็บเร็วมาก
- เล่น javascript เร็วกว่าเบราเซอร์อื่นๆ
- รองรับ CSS  Animation ซึ่งเบราเซอร์อื่น
  ไม่รองรับ
- รองรับ CSS Web Font
- สแกนข้อมูลได้รวดเร็ว
- ไวรัส สปายแวร์ต่าง ๆ ซาฟารีกำจัดได้ดีกว่า
  IE และ Firefox
- ลุกเล่นยังไม่ค่อยเยอะ โดยรวมแล้วไม่สู้
  Firefox
- มีปัญหาด้านภาษาไทยเหมือน Chrome
- กินทรัพยากรของคอมพิวเตอร์คุณค่อนข้าง
  เยอะพอ ๆ กับ IE
- ฟ้อนต์เพี้ยนเยอะมาก
ที่มาของข้อมูลในตาราง :: http://www.siamzone.com/board/view.php?sid=1798373

      สำหรับเบราเซอร์ของไทยก็มีนะครับ  ผมก็เคยใช้อยู่คือปลาวาฬเบราเซอร์ (Plawan Browser) เว็บไซต์ของเขาก็คือhttp://www.plawan.com/ ซึ่งก็มีเบราเซอร์ให้ดาวน์โหลดมาใช้งานได้ฟรีๆ แถมมีระบบ Plawan Central Log ที่ใช้ติดตั้งเพื่อเก็บ Log ตาม พรบ.คอมพิวเตอร์ อีกด้วย
      รูปร่างหน้าตาของ Plawan ก็สวยดีครับสามารถเปลี่ยน Theme เป็นสีต่างๆได้ตามต้องการที่สำคัญคือรองรับภาษาไทยได้ 100% หน้าตาของ Plawan ก็เป็นแบบนี้ครับ

3.3 วิธีการสืบค้นข้อมูลโดยใช้สารบนเว็บ

วิธีการสืบค้นข้อมูลบนอินเทอร์เน็ตการสืบค้นข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต        
ในโลกไซเบอร์สเปซมีข้อมูลมากมายมหาศาล การที่จะค้นหาข้อมูลจำนวนมากมายอย่างนี้เราไม่อาจจะคลิกเพื่อค้นหาข้อมูลพบได้ง่ายๆ  จำเป็นจะต้องอาศัยการค้นหาข้อมูลด้วยเครื่องมือค้นหาที่เรียกว่า Search Engine เข้ามาช่วยเพื่อความสะดวกและรวดเร็ว เว็บไซต์ที่ให้บริการค้นหาข้อมูลมีมากมายหลายที่ทั้งของคนไทยและ   ถ้าเราเปิดไปทีละหน้าจออาจจะต้องเสียเวลาในการค้นหา และอาจหาข้อมูลที่เราต้องการไม่พบ การที่เราจะค้นหาข้อมูลให้พบอย่างรวดเร็วจึงต้องพึ่งพา Search Engine Site ซึ่งจะทำหน้าที่รวบรวมรายชื่อเว็บไซต์ต่างๆ เอาไว้ โดยจัดแยกเป็นหมวดหมู่ ผู้ใช้งานเพียงแต่ทราบหัวข้อที่ต้องการค้นหาแล้วป้อน คำหรือข้อความของหัวข้อนั้นๆ ลงไปในช่องที่กำหนด คลิกปุ่มค้นหา เท่านั้น รอสักครู่ข้อมูลอย่างย่อๆ และรายชื่อเว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องจะปรากฏให้เราเข้าไปศึกษาเพิ่มเติมได้ทันที
การค้นหาข้อมูลมีกี่วิธี ? 
1. การค้นหาในรูปแบบ Index Directory
2. การค้นหาในรูปแบบ Search Engine
การค้นหาในรูปแบบ Index Directory
              วิธีการค้นหาข้อมูลแบบ Index นี้ข้อมูลจะมีความเป็นระเบียบเรียบร้อยมากกว่าการค้นหาข้อมูลด้วย วิธีของ Search Engineโดยมันจะถูกคัดแยกข้อมูลออกมาเป็นหมวดหมู่ และจัดแบ่งแยก Site ต่างๆออก เป็นประเภท สำหรับวิธีใช้งาน คุณสามารถที่จะ Clickเลือกข้อมูลที่ต้องการจะดูได้เลยใน Web Browser จากนั้นที่หน้าจอก็จะแสดงรายละเอียดของหัวข้อปลีกย่อยลึกลงมาอีกระดับหนึ่ง ปรากฏขึ้นมาให้เราเลือกอีก ส่วนจะแสดงออกมาให้เลือกเยอะแค่ไหนอันนี้ก็ขึ้นอยู่กับขนาดของฐานข้อมูลใน Index ว่าในแต่ละประเภท จัดรวบรวมเก็บเอาไว้มากน้อยเพียงใด เมื่อคุณเข้าไปถึงประเภทย่อยที่คุณสนใจแล้ว ที่เว็บเพจจะแสดงรายชื่อของเอกสารที่เกี่ยวข้องกับ ประเภทของข้อมูลนั้นๆออกมา หากคุณคิดว่าเอกสารใดสนใจหรือต้องการอยากที่จะดู สามารถ Click ลงไปยัง Link เพื่อขอเชื่อต่อทางไซต์ก็จะนำเอาผลของข้อมูลดังกล่าวออกมาแสดงผลทันที นอกเหนือไปจากนี้ ไซต์ที่แสดงออกมานั้นทางผู้ให้บริการยังได้เรียบเรียงโดยนำเอา Site ที่มีความเกี่ยว ข้องมากที่สุดเอามาไว้ตอนบนสุดของรายชื่อที่แสดง
การค้นหาในรูปแบบ Search Engine 
              วิธีการอีกอย่างที่นิยมใช้การค้นหาข้อมูลคือการใช้ Search Engine ซึ่งผู้ใช้ส่วนใหญ่กว่า 70% จะใช้วิธีการค้นหาแบบนี้ หลักการทำงานของ Search Engine จะแตกต่างจากการใช้ Indexลักษณะของมันจะเป็นฐานข้อมูลขนาดใหญ่มหาศาลที่กระจัดกระจายอยู่ทั่วไป บน Internet ไม่มีการแสดงข้อมูลออกมาเป็นลำดับขั้นของความสำคัญ การใช้งานจะเหมือนการสืบค้นฐานข้อมูล อื่นๆคือ คุณจะต้องพิมพ์คำสำคัญ (Keyword) ซึ่งเป็นการอธิบายถึงข้อมูลที่คุณต้องการจะเข้าไป ค้นหานั้นๆเข้าไป จากนั้น Search Engine ก็จะแสดงข้อมูลและ Site ต่างๆที่เกี่ยวข้องออกมา
 ข้อแตกต่างระหว่าง Index และ Search Engine                คำตอบก็ คือวิธีในการค้นหาข้อมูลแบบ Index เค้าจะใช้คนเป็นผู้จัดรวบรวมและทำระบบฐานข้อมูลขึ้นมา ส่วนแบบ Search Engine นั้นระบบฐานข้อมูลของมันจะได้รับการจัดสร้างโดยใช้ Software ที่มี หน้าที่เกี่ยวกับงานทางด้านนี้โดยเฉพาะมาเป็นตัวควบคุมและจัดการ ซึ่งเจ้า Software ตัวนี้จะมี ชื่อเรียกว่า Spiders การทำงานข้องมันจะใช้วิธีการเดินลัดเลาะไปตามเครือข่ายต่างๆที่เชื่อมโยงถึง กันอยู่เต็มไปหมดใน Internet เพื่อค้นหา Website ที่เกิดขึ้นมาใหม่ๆ รวมทั้งยังสามารถตรวจสอบหาความเปลี่ยนแปลงของ ข้อมูลใน Site เดิมที่มีอยู่ ว่าที่ใดถูกอัพเดตแล้วบ้าง จากนั้นมันก็จะนำเอาข้อมูลทั้งหมดที่สำรวจเข้ามา ได้เก็บใส่เข้าไปในฐานข้อมูลของตนอัตโนมัติ ยกตัวอย่างของผู้ให้บริการประเภทนี้เช่น Excite , Lycos Infoserch เป็นต้น การค้นหาด้วยวิธี Search Engine นั้นมักจะได้ผลลัพธ์ออกมากว้างๆชี้เฉพาะเจาะจงได้ยาก บางครั้งข้อมูลที่ ค้นหามาได้อาจมีถึงเป็นร้อยเป็นพัน Site แล้วมีใครบ้างหละที่อยากจะมานั้นค้นหาและอ่านดูที่จะเพจ ซึ่งคง ต้องเสียเวลาเป็นวันๆแน่ ซึ่งก็ไม่รับรองด้วยว่าคุณจะได้ข้อมูลที่คุณต้องการหรือไม่ ดังนั้นจึงมีหลักในการค้น หา เพื่อให้ได้ข้อมูลใกล้เคียงความเป็นจริงมากที่สุด ซึ่งจะขอกล่าวในตอนหลัง
ประเภทของ Search Engine
Search Engine แต่ละแห่งมีวิธีการและการจัดเก็บฐานข้อมูลที่แตกต่างกันไปตามประเภทของ Search Engine ที่แต่ละเว็บไซต์นำมาใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ดังนั้นการที่คุณจะเข้าไปหาข้อมูลหรือเว็บไซต์ โดยวิธีการ Search นั้น อย่างน้อยคุณจะต้องทราบว่า เว็บไซต์ที่คุณเข้าไปใช้บริการ ใช้วิธีการหรือ ประเภทของ Search Engine อะไร เนื่องจากแต่ละประเภทมีความละเอียดในการจัดเก็บข้อมูลต่างกันไป ที่นี้เราลองมาดูซิว่า Search Engine ประเภทใดที่เหมาะกับการค้นหาข้อมูลของคุณ
             1.  Keyword Index เป็นการค้นหาข้อมูล โดยการค้นจากข้อความในเว็บเพจที่ได้ผ่านการสำรวจมาแล้ว จะอ่านข้อความ ข้อมูล อย่างน้อยๆ ก็ประมาณ 200-300 ตัวอักษรแรกของเว็บเพจนั้นๆ โดยการอ่านนี้จะหมายรวมไปถึงอ่านข้อความที่อยู่ในโครงสร้างภาษาHTML ซึ่งอยู่ในรูปแบบของข้อความที่อยู่ในคำสั่ง alt ซึ่งเป็นคำสั่งภายใน TAG คำสั่งของรูปภาพ แต่จะไม่นำคำสั่งของ TAG อื่นๆ ในภาษา HTML และคำสั่งในภาษา JAVA มาใช้ในการค้นหา วิธีการค้นหาของ Search Engine ประเภทนี้จะให้ความสำคัญกับการเรียงลำดับข้อมูลก่อน-หลัง และความถี่ในการนำเสนอข้อมูลนั้น การค้นหาข้อมูล โดยวิธีการเช่นนี้จะมีความรวดเร็วมาก แต่มีความละเอียดในการจัดแยกหมวดหมู่ของข้อมูลค่อนข้างน้อย เนื่องจากไม่ได้คำนึงถึงรายละเอียดของเนื้อหาเท่าที่ควร แต่หากว่าคุณต้องการแนวทางด้านกว้างของข้อมูล และความรวดเร็วในการค้นหา วิธีการนี้ก็ใช้ได้ผลดี
             2. Subject Directories การจำแนกหมวดหมู่ข้อมูล Search Engine ประเภทนี้ จะจัดแบ่งโดยการวิเคราะห์เนื้อหา รายละเอียด ของแต่ละเว็บเพจ ว่ามีเนื้อหาเกี่ยวกับอะไร โดยการจัดแบ่งแบบนี้จะใช้แรงงานคนในการพิจารณาเว็บเพจ ซึ่งทำให้การจัดหมวดหมู่ขึ้นอยู่กับวิจารณญาณของคนจัดหมวดหมู่แต่ละคนว่าจะจัดเก็บข้อมูลนั้นๆ อยู่ในเครือข่ายข้อมูลอะไร ดังนั้นฐานข้อมูลของ Search Engine ประเภทนี้จะถูกจัดแบ่งตามเนื้อหาก่อน แล้วจึงนำมาเป็นฐานข้อมูลในการค้นหาต่อไป การค้นหาค่อนข้างจะตรงกับความต้องการของผู้ใช้ และมีความถูกต้องในการค้นหาสูง เป็นต้นว่า หากเราต้องการหาข้อมูลเกี่ยวกับเว็บไซต์ หรือเว็บเพจที่นำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ Search Engine ก็จะประมวลผลรายชื่อเว็บไซต์ หรือเว็บเพจที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ล้วนๆ มาให้คุณ
           3. Metasearch Engines จุดเด่นของการค้นหาด้วยวิธีการนี้ คือ สามารถเชื่อมโยงไปยัง Search Engine ประเภทอื่นๆ และยังมีความหลากหลายของข้อมูล แต่การค้นหาด้วยวิธีนี้มีจุดด้อย คือ วิธีการนี้จะไม่ให้ความสำคัญกับขนาดเล็กใหญ่ของตัวอักษร และมักจะผ่านเลยคำประเภท Natural Language (ภาษาพูด) ดังนั้น หากคุณจะใช้ Search Engine แบบนี้ละก็ ขอให้ตระหนักถึงข้อบกพร่องเหล่านี้ด้วย
หลักการค้นหาข้อมูลของ Search Enine
         สำหรับหลักในการค้นหาข้อมูลของ Search Engine แต่ละตัวจะมีลักษณะที่แตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับว่าทางศูนย์บริการต้องการจะเก็บข้อมูลแบบไหน แต่โดยส่วนใหญ่แล้วจะมีกลไกใน การค้นหาที่ใกล้เคียงกัน หากจะแตกต่างก็คงจะเป็นเรื่องประสิทธิภาพเสียมากกว่า ว่าจะมีข้อมูล เก็บรวบรวมไว้อยู่ในฐานข้อมูลมากน้อยขนาดไหน และพอจะนำเอาออกมาบริการให้กับผู้ใช้ ได้ตรงตามความต้องการหรือเปล่า ซึ่งลักษณะของปัจจัยที่ใช้ค้นหาโดยหลักๆจะมีดังนี้
1.  การค้นหาจากชื่อของตำแหน่ง URL ใน เว็บไซต์ต่างๆ
2.  การค้นหาจากคำที่มีอยู่ใน Title (ส่วนที่ Browser ใช้แสดงชื่อของเว็บเพจอยู่ทางด้าน ซ้ายบนของหน้าต่างที่แสดง
3.  การค้นหาจากคำสำคัญหรือคำสั่ง keyword (อยู่ใน tag คำสั่งใน html ที่มีชื่อว่า meta)
4.  การค้นหาจากส่วนที่ใช้อธิบายหรือบอกลักษณะ site
5.  ค้นหาคำในหน้าเว็บเพจด้วย Browser    ซึ่งการค้นหาคำในหน้าเว็บเพจนั้นจะใช้สำหรับกรณีที่คุณเข้าไปค้นหาข้อมูลที่เว็บ เพจใด เว็บเพจหนึ่ง แล้วภายในมีข้อความปรากฏอยู่เต็มไปหมด จะนั่งไล่ดูทีละบรรทัดคงไม่สะดวก ในลักษณะนี้เราใช้ใช้ browser ช่วยค้นหาให้ ขึ้นแรกให้คุณนำ mouse ไป click ที่ menu Edit แล้วเลือกบรรทัดคำสั่ง Find in Page หรือกดปุ่ม Ctrl + F ที่ keyboard ก็ได้ จากนั้นใส่คำที่ต้องการค้นหาลงไปแล้วก็กดปุ่ม Find Next โปรแกรมก็จะวิ่งหาคำดังกล่าว หากพบมันก็จะกระโดดไปแสดงคำนั้นๆ ซึ่งคุณสามารถกดปุ่ม Find Next เพื่อค้นหาต่อได้ อีกจนกว่าคุณจะพบข้อมูลที่ต้องการ
เทคนิค 11 ประการที่ควรรู้ในการค้นหาข้อมูล              ในการค้นหาข้อมูลด้วย Search Engine ส่วนใหญ่แล้วปัญหาที่ผู้ใช้งานทั่วไปมักจะพบเห็น หรือประสบอยู่เสมอๆก็คงจะหนีไปไม่พ้นข้อมูลที่ค้นหาได้มีขนาดมากจนเกินไป ดังนั้นเพื่อ ความสะดวกในการใช้งานคุณจึงน่าที่จะเรียนรู้เทคนิคต่างๆเพื่อช่วยลดหรือ จำกัดคำที่ค้น หาให้แคบลงและตรงประเด็นกับเรามากที่สุด   ดังวิธีการต่อไปนี้
1. เลือกรูปแบบการค้นหาให้ตรงกับสิ่งที่คุณต้องการมากที่สุด (อย่างที่บอกไว้ตั้งแต่ตอนต้นว่ามีอยู่                2 แบบ ) ส่วนจะเลือกใช้วิธีไหนก็ตามแต่จะเห็นว่า เหมาะสม ยกตัวอย่างเช่น ถ้าต้องการจะค้นหาข้อมูลที่มีลักษณะทั่วไป ไม่ชี้ เฉพาะเจาะจง ก็ควรเลือกบริการสืบค้นข้อมูลแบบ Index อย่างของ yahoo เพราะ โอกาสที่จะเจอนั้น เปอร์เซ็นต์สูงกว่าจะมานั่งสุ่มหาโดยใช้วิธีแบบ Search Engine
2. ใช้คำมากกว่า 1 คำที่มีลักษณะเกี่ยวข้องกันช่วยค้นหา เพราะจะได้ผลลัพธ์ที่มีขนาด แคบลงและชี้เฉพาะมากขึ้น (ย่อมจะดีกว่าหาคำเดียวโดดๆ)
3. ใช้บริการของผู้ให้บริการเฉพาะด้าน เช่นการค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องราวของ ภาพยนตร์ก็น่าที่จะเลือกใช้ Search Engine ที่ให้บริการใกล้เคียงกับเรื่องพวกนี้ เพราะผลลัพธ์ที่ได้น่าจะเป็นที่น่าพอใจกว่า
4. ใส่เครื่องหมายคำพูดครอบคลุมกลุ่มคำที่ต้องการ เพื่อบอกกับ Search Engine ว่าเรา ต้องการผลการค้นหาที่มีคำในกลุ่มนั้นครบและตรงตามลำดับที่เราพิมพ์ทุกคำ เช่น "free shareware" เป็นต้น
5. การขึ้นต้นของตัวอักษรตัวเล็กเท่ากันหมด Search Engine จะเข้าใจว่าเราต้องการ ให้มันค้นหาคำดังกล่าวแบบไม่ต้องสนใจว่าตัวอักษรที่ได้จะมีขนาดเล็กหรือใหญ่ ดังนั้นหากคุณต้องการอยากที่จะให้มันค้นหาคำตรงตามแบบที่เขียนไว้ก็ให้ใช้ ตัว อักษรใหญ่แทน
6. ใช้ตัวเชื่อมทาง Logic หรือตรรกศาสตร์เข้ามาช่วยค้นหา มีอยู่ 3 ตัวด้วยกันคือ - AND สั่งให้หาโดยจะต้องมีคำนั้นๆมาแสดงด้วยเท่านั้น! โดยไม่จำเป็นว่าจะต้องติดกัน เช่น phonelink AND pager เป็นต้น - OR สั่งให้หาโดยจะต้องนำคำใดคำหนึ่งที่พิมพ์ลงไปมาแสดง - NOT สั่งไม่ให้เลือกคำนั้นๆมาแสดง เช่น food and cheese not butter หมายความว่า ให้ทำการหาเว็บที่เกี่ยวข้องกับ food และcheese แต่ต้องไม่มี butter เป็นต้น
7. ใช้เครื่องหมายบวกลบคัดเลือกคำ + หน้าคำที่ต้องการจริงๆ - (ลบ)ใช้นำหน้าคำที่ไม่ต้องการ () ช่วยแยกกลุ่มคำ เช่น(pentium+computer)cpu
8. ใช้เป็นตัวร่วม เช่น com* เป็นการบอกให้หาคำที่มีคำว่า com ขึ้นหน้าส่วนด้านท้ายเป็น อะไรไม่
สนใจ *tor เป็นการให้หาคำที่ลงท้ายด้วย tor ด้านหน้าจะเป็นอะไรไม่สนใจ 
9.หลีก เลี่ยงการใช้ตัวเลข พยายามเลี่ยงการใช้คำค้นหาที่เป็นคำเดี่ยวๆ หรือเป็นคำที่มีตัวเลขปน แต่ถ้าเลี่ยงไม่ได้ คุณก็อย่าลืมใส่เครื่องหมายคำพูด (" ") ลงไปด้วย เช่น "windows 98"
10. หลีก เลี่ยงภาษาพูด หลีกเลี่ยงคำประเภท Natural Language หรือเรียกง่ายๆ ว่าคำหรือข้อความที่เป็นภาษาพูด หรือเป็นประโยค คุณควรสรุปเป็นเพียงกลุ่มคำหรือวลี ที่มีความหมายรวมทั้งหมดไว้ Advanced Search อย่าลืมที่จะใช้ Advanced Search เพราะจะมีส่วนช่วยคุณได้มาก ในการบีบประเด็นหัวข้อ ให้แคบลง ซึ่งจะทำให้คุณได้รายชื่อเว็บไซต์ ที่ตรงกับความต้องการของคุณมากขึ้น
11. อย่าละเลย Help ซึ่งในแต่ละเว็บ จะมี ปุ่ม help หรือ Site map ไว้คอยช่วยเหลือคุณ แต่คนส่วนใหญ่มักจะมองข้าม ซึ่งhelp/site map จะมีประโยชน์มากในการอธิบาย option หรือการใช้งาน/แผนผังปลีกย่อยของแต่ละเว็บไซต์

3.4 วิธีการสืบค้นข้อมูลโดยใช้เครื่องมือช่วยค้น

เครื่องมือช่วยค้นข้อมูลในอินเทอร์เน็ต

เครื่องมือช่วยค้น หรือ เซิร์ชเอ็นจิน (Search Engine)
Search  Engine คือ เว็บไซต์ที่ให้บริการการค้นหาข้อมูล เว็บไซต์ดังกล่าวจะมีโปรแกรมชนิดหนึ่งที่เขียนขึ้นเพื่อช่วยในการค้นหาข้อมูลในอินเทอร์เน็ต  การทำงานของSearch Engineนั้นจะเริ่มจากการหเว็บไซต์ต่างๆในอินเทอร์เน็ตว่ามีเว็บไซต์อะไรแล้วสร้างเป็นฐานข้อมูลของเว็บไซต์ต่างๆขึ้นมาเก็บไว้เพื่อใช้ในการค้นหาตามความต้องการของผู้ใช้ ฐานข้อมูลเหล่านี้จะต้องมีการปรับปรุงบ่อยๆเพราะมีเว็บไซต์เพิ่มเติมอยู่ตลอดเวลานอกจากการสร้างฐานข้อมูลเกี่ยวกับเว็บไซต์ของตนเองแล้ว  Search  Engine  ยังอาจจะใช้วิธีการค้นหาจากฐานข้อมูลของ Search  Engine ตัวอื่นๆแล้วนำมาบริการก็ได้  ในการสร้างฐานข้อมูลของ  Search  Engine นั้นจะใช้โปรแกรมที่เรียกว่า  สไปเดอร์ (Spider)หรือโรบอต(Robot)ทำการสำรวจไปยังเว็บไซต์ต่างๆทั่วอินเทอร์เน็ตแล้วนำข้อมูลของเว็บไซต์นั้นมาเก็บไว้ในฐานข้อมูลของตนเองเมื่อผู้ใช้ป้อนKeyword ของข้อมูลที่ต้องการค้นหาเข้าไป Search  Engine ก็จะนำไปค้นหาในฐานข้อมูลที่มีอยู่  ผลที่ได้จาก การค้นหาก็คือรายการของเว็บไซต์ที่มี Keyword ดังกล่าวอยู่
SearchEngine แต่ละตัวมีข้อดีในการสืบค้นและวิธีการในการสืบค้นที่แตกต่างกันตลอดจนมีการจัดทำส่วนพิเศษต่างๆในการสืบค้น
เพื่อช่วยผู้ใช้  และเพื่อให้ผู้ใช้สามารถสืบค้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผู้ใช้ควรมีความรู้เกี่ยวกับการค้นหา ดังนี้ คือ
1. วิธีการใช้ Search Engine แต่ละเว็บไซต์Search Engine แต่ละตัวจะมีส่วนช่วยในการอธิบายวิธีใช้ในส่วนที่เรียกว่า Help หรือAbout  เช่น Yahoo 
  มีวิธีกำหนดคำค้นเพื่อให้ได้ผลค้นที่เฉพาะเจาะจงหรือตรงต่อความต้องการ ดังนี้
1.1 ใช้เครื่องหมายดอกจันทร์ (*) เพื่อค้นหาคำที่มีการสกดคล้ายกัน เช่น smok* หมายความว่า ให้ค้นหาคำทั้งหมดที่ขึ้นด้วย 5 ตัวอักษรแรก เช่น smoke smoker เป็นต้น1.2 ใช้เครื่องหมาย + สำหรับกำหนดให้แสดงผลการค้นเฉพาะเว็บไซต์ ที่ปรากฏคำทั้งสองคำ
เช่น Secondary + education1.3 ใช้เครื่องหมาย  “    ”  สำหรับการค้นหาคำที่เป็นวลี เช่น  “great barrier reaf”   ฯลฯ
2.การใช้ตรรกบูลีน  (Boolean Logic)เพื่อให้สามารถกำหนดการค้นหาที่แคบเข้ามา โดยใช้คำ  AND  OR  NOT เข้าช่วยในการกำหนดคำค้นเพื่อให้สามารถค้นหาได้อย่างเฉพาะเจาะจงมากยิ่งขึ้น
การใช้ ANDการกำหนดใช้ AND
จะใช้เมื่อต้องการกำหนดให้ค้นรายการที่ปรากฏคำที่มีความเกี่ยวข้องกัน ในรายการเดียวกัน เช่น water and soilการกำหนดแบบนี้หมายความว่าผลการค้นต้องการคือเฉพาะรายการที่มีคำว่า water และ soil เท่านั้นหากรายการใดที่มีแต่คำว่า  water  หรือ soil ไม่ต้องการการใช้คำว่า ORการใช้ OR เป็นการขยายคำค้นโดยกำหนดคำหลายที่เห็นว่ามีความหามายคล้ายกันหรือสามารถสะกดได้หลายแบบ
การใช้ NOTการใช้ NOT จะใช้ในเมื่อต้องการจำกัดการค้นเข้ามาคือไม่ต้องการรายการที่มีเนื้อหาส่วนที่ไม่ต้องการปรากฏอยู่  โดยกำหนดให้ตัดคำที่ไม่ต้องการออกเช่นwater not soilการกำหนดคำแบบนี้ หมายถึง
1.       ให้ค้นหารายการที่มีคำว่า water แต่หากรายการใดมีคำว่า soil อยู่ด้วย ไม่ต้องการ
2.       ผลสืบค้นที่ได้ทุกรายการที่มีคำว่า water และหากมีคำว่าSoil ให้คัดออกทุกรายการ

3.5 ตัวอย่างเว็บไซต์ที่ให้บริการสืบค้นข้อมูลทั้งของไทยและของต่างประเทศ

การใช้งาน และ Web Search engine ของไทยและต่างประเทศSearch Engine แบบไทย ๆ
ข้อดีของ Search Engine ไทย ก็คือค้นหาคำที่ใช้ภาษาไทยได้ และสามารถ Search เว็บไซต์ของไทยได้ดีกว่าด้วยเพราะตั้งใจทำมาเพื่อการนี้โดยเฉพาะ ตัวอย่างเช่นSearch Engines of Thailand (www.searchenginecolossus.com/Thailand.html) เป็นเว็บไซต์ที่รวบรวมรายชื่อลิงค์สำหรับ Search Engines และเว็บไซต์ที่เป็นไดเรคทอรของไทย ถ้าไม่รู้จะเริ่มต้นที่ไหนก็เริ่มต้นที่นี่ก่อนได้ แต่ไม่ได้ให้บริการค้นหาข้อมูลหรอื Search โดยตรง

Thaifind (www.kmutt.ac.th/menu6/Thaifind.html) เป็นเว็บไซต์ของสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า ธนบุรี ที่ให้บริการค้นหาข้อมูลโดยใช้คีย์เวิร์ดได้ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ และทำการค้นหาข้อมูงไห้เรา โดยใช้เครื่องมือค้นหาของไทย 10 ตัว ของสากลอีก 10 ตัวเรียกว่า เป็น Metasearch หรือ อภิมหา Search นั่นแหละที่อยู่ของ Search Engine ไทยอืรน ๆ ที่น่าสนใจ มีดังนี้
Thaiseek (www.thaiseek.com)
Thaisearch (www.thaisearch.com)
Thaispy (www.thaispy.com)
Atriumtech (www.atriumtech.com)
Orientation (http://th.orientation.com)
Nontrisearch (http://search.ku.ac.th)
วิธีการค้นหา
เพียงพิมพ์คำสั้นที่เราต้องการค้นหา หรือที่เราเรียกว่า Key Word และกดปุ่ม Search หรือค้นหา

ประโยชน์ที่ได้รับจาก Search Engine

◦ค้นหาเว็บที่ต้องการได้สะดวก รวดเร็ว
◦สามารถค้นหาแบบเจาะลึกได้ ไม่ว่าจะเป็น รูปภาพ, ข่าว, MP3 และอื่นๆ อีกมากมาย
◦สามารถค้นหาจากเว็บไซต์เฉพาะทาง ที่มีการจัดทำไว้ เช่น download.com เว็บไซต์เกี่ยวกับข้อมูลและซอร์ฟแวร์ เป็นต้น
◦มีความหลากหลายในการค้นหาข้อมูล
◦รองรับการค้นหา ภาษาไทย
นอกจากนี้ยังมีการพัฒนาในรูปแบบของ Search Bar ที่ทำให้ผู้ใช้งานไม่จำเป็นต้องเข้าผ่านเว็บไซต์ Search Engine เหล่านั้นโดยตรงแล้ว ตัวอย่าง Search Bar ที่ขอแนะนำ เช่น Google Search Bar, Yahoo Search Bar เป็นต้น สำหรับรายละเอียดให้คลิกเข้าไปอ่านและ download ได้ที่ Search Bar

Ads by Google

ลองใช้ Google Chrome
เบราว์เซอร์ที่ให้คุณค้นหาหน้าที่ คุณเคยเยี่ยมชม ดาวน์โหลดเดี๋ยวนี้
www.google.co.th/chrome

เว็บไซต์ที่ให้บริการ

Search Engine
เครื่องมือในการค้นหาข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต
Search Engine เป็นเครื่องมือหรือโปรแกรมในการค้นหาเว็บต่างๆ โดยมีการเก็บ รายชื่อเว็บไซต์
และข้อมูลที่เกี่ยวข้องต่างๆ ของเว็บไซต์และนำมาจัดเก็บไว้ใน server เพื่อให้สามารถค้นหาและ
แสดงผลได้สะดวก และรวดเร็วมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ บาง search engine อาจไม่ได้มีการเก็บข้อมูลใน
server ของตัวเอง แต่อาจอาศัยข้อมูลจากเจ้าของ server นั้นๆ

เครื่องมือหรือโปรแกรมสำหรับการสืบค้น (Search Engine) มีอยู่มากมายและมีให้บริการ
อยู่ตามเว็บไซต์ต่างๆ ที่ใช้บริการการสืบค้นข้อมูลโดยเฉพาะ การเลือกใช้นั้นขึ้นกับประเภทของข้อมูล
สารสนเทศที่ต้องการสืบค้น Search Engine ต่างๆ จะให้ข้อมูลที่มีความลึกในแง่มุมหรือศาสตร์ต่างๆ
ไม่ เท่ากัน ตัวอย่าง Search Engine ที่นิยมใช้มีทั้งเว็บไซต์ที่เป็นของต่างประเทศ และของไทยเอง
ตัวอย่าง เว็บไซต์ของไทยและต่างประเทศ ได้แก่

website ภาษาไทย website ภาษาอังกฤษ
http://www.thaifind.com http://www.ixquick.com
http://www.thaiseek.com http://www.yahoo.com
http://www.thaiall.com http://www.lycos.com
http://www.thainame.net/main.html http://www.netfind2.aol.com
http://www.sanook.com http://www.excite.com
http://www.google.com http://www.altavista.com
http://www.aromdee.com http://www.freestation.com




ที่มา: https://sites.google.com/site/jirapankantamoon/3-5-tawxyang-websit-thi-hi-brikar-subkhn-khxmul-thang-khxng-thiy-laea-khxng-tang-prathes

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

Profile