หน่วยที่ 8 การพิมพ์ข้อมูลโปรแกรมคำนวณและการประยุกต์ใช้ในการนำเสนอ

8.1 การกำหนดรายละเอียดของเอกสารก่อนพิมพ์ออกทางเครื่องพิมพ์

การพิมพ์

  1. คลิก ไฟล์ > พิมพ์ หรือกดแป้น Ctrl+P
  2. ดูตัวอย่างก่อนพิมพ์โดยคลิกลูกศร หน้าถัดไป และ หน้าก่อน
    ปุ่ม หน้าถัดไป และ หน้าก่อน ในบานหน้าต่าง ตัวอย่างก่อนพิมพ์
    หน้าต่างแสดงตัวอย่างจะแสดงตัวอย่างหน้าในรูปแบบขาวดำหรือสี ขึ้นอยู่กับการตั้งค่าเครื่องพิมพ์ของคุณ
    ถ้าคุณไม่พอใจตัวอย่างการพิมพ์ที่ได้เห็น คุณสามารถเปลี่ยนระยะขอบกระดาษ หรือเพิ่มตัวแบ่งหน้าได้
  3. คลิก พิมพ์     

8.2 การสร้างกราฟเปรียบเทียบการกำเสนอข้อมูล

สร้างกราฟเปรียบเทียบข้อมูลใน Microsoft Excel 2013

1. ทำการเปิด Microsoft Excel ขึ้นมา
2. จากนั้นทำการกรอกข้อมูลของเราลงไป
ในตัวอย่างจะเป็นการ ตรวจสอบ Stock ในการขายอุปกรณ์ของ Apple
3. เมื่อเราทำการใส่ข้อมูลลงไป ให้ทำการลากเมาส์ให้คลุมทั้งหมดของข้อความ > จากนั้นทำการกดปุ่ม Quick Analysis
Charts-Excel-2013-14. ทำการเลือก Tab : Charts และเลือกแบบของกราฟที่เราต้องการCharts-Excel-2013-2

5. จากนั้นเราก็จะได้กราฟ ที่เราต้องการ
Charts-Excel-2013-3
โดยข้อมูลของที่เราทำการสร้างขึ้นมา เราก็สามารถทำการเปลี่ยนแปลงได้ โดยหลังจากที่เปลี่ยนแปลงข้อมูล กราฟของที่เราเลือกก็จะแปรผันไปกับข้อมูลที่เราทำการกรอกเอาไว้

8.3 การออกแบบและตกต่างกราฟเปรียบเทียบข้อมูล

  • เมื่อเรามีข้อมูลเตรียมไว้ในตารางแล้ว ให้เราลาก Selection ครอบคลุมพื้นที่ของข้อมูลทั้งหมด จากนั้นไปที่ Ribbon Insert => Chart => เลือกรูปแบบที่ต้องการตามที่ได้แนะนำไปข้างบน
    chart-animate-1
  • เมื่อเราเลือกรูปแบบกราฟไปแล้ว ถ้ากราฟมันสร้างออกมาสลับแกน x แกน y กับสิ่งที่เราคิดไว้แต่แรก เราสามารถกดปุ่ม Switch Row/Column ที่อยู่บน Ribbon Chart Tools => Design ได้เลยครับ (ต้องคลิ๊กที่ Chart ก่อน Ribbon นี้ถึงจะโผล่มาให้เห็น)
    chart2
  • บางครั้งเมื่อเราสร้างกราฟแล้ว ต่อไปอยากจะใส่ข้อมูลเพิ่มลงไปอีก มีวิธีง่ายๆ ที่ไม่ต้องเข้าไปนั่งแก้ที่ Select Data เลย นั่นก็คือ สามารถกด Copy ข้อมูลจากตาราง (Ctrl+C) แล้วเลือกที่กราฟ จากนั้นกด Paste (Ctrl+V) ลงไปเลยตรงๆครับ
    • ในตัวอย่างนี้ ผมเพิ่มทั้งแถวทั้งคอลัมน์ จึงต้อง copy 2 รอบครับ
  • chart3

4. Customize : ปรับแต่งกราฟ

ต่อไปเป็นขั้นตอนสุดท้าย นั่นคือการปรับแต่งกราฟ ซึ่งการที่เราจะปรับแต่งกราฟได้นั้น เราต้องรู้จักส่วนประกอบของกราฟซะก่อนครับ

ส่วนประกอบของกราฟ หลักๆ มีดังนี้
chart-component

  • Chart Area : พื้นที่ของกราฟทั้งหมด
  • Plot Area : พื้นที่ที่มีการพลอตข้อมูลลงไปจริงๆ
  • Label ป้ายกำกับ
    • Chart Title : ชื่อกราฟ
    • Axis Title : ชื่อแกน
      • Horizontal : แกนนอน
      • Vertical : แกนตั้ง
    • Legend : เพื่อบอกว่าซีรีส์อะไรคืออะไร
    • Data Label : บอกค่าของ Data
    • Data Table : ตารางข้อมูลต้นฉบับ
  • Axes แกน
    • Axes
      • Vertical Axis : แกนตั้ง
      • Horizontal Axis : แกนนอน
    • Gridlines : เส้นกริด ทั้งทั้งแกนนอนแกนตั้ง และ Major, minor
  • Series คือตัวข้อมูลจริงๆ
    • Series Name : ชื่อของข้อมูล
    • Series Value : ค่าของข้อมูล
  • Category Label : ชื่อประเภทข้อมูล (มักอยู่ที่แกนนอน)
วิธีที่ง่ายที่สุดที่จะเข้าใจส่วนประกอบของกราฟ ก็คือ ให้ไปที่ Ribbon Layout ที่อยู่ภายใต้ Chart Tools เลยครับ (ต้องเลือกที่กราฟก่อน) ในนั้นจะแบ่งออกเป็นหลายๆ หมวด ดังนี้
  • Current Selection : เอาไว้เลือกส่วนประกอบของกราฟ มีประโยชน์มากเวลามีส่วนประกอบหลายๆ อันบังกันอยู่ ลองคลิ๊กดูแล้วจะรู้ว่าแต่ละส่วนเรียกว่าอะไร
    chart6
    • พอเลือกแล้วสามารถกด Format Selection เพื่อปรับแต่งแต่ละส่วนได้อีก
  • เราสามาถ เพิ่ม/ลด ส่วนประกอบของกราฟได้ โดยไปที่เมนู Ribbon แต่ละอัน เช่น Chart Title, Axis Title, Legend, Data Label แล้วเลือก option จาก Drop down เป็นต้น
    chart5



ที่มา: https://sites.google.com/site/jirapankantamoon/8-3-kar-xxkbaeb-laea-tk-tang-kraf-periyb-theiyb-khxmul

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

Profile